วันอังคารที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2550

บทที่3-4 วิชาการเงินส่วนบุคคล

วิชาการเงินส่วนบุคคล

******************************************************
หน่วยที่3 การออม
ความหมายของการออม
วัตถุประสงค์ของการออม
1 หลักการออม
2 ปัจจัยที่มีผลต่อการออม
3 ประโยชน์ของการออม
4 สถาบันการเงินเพื่อการออม
5 ปัจจัยในการเลือกสถาบันการเงินเพื่อการออม
ความหมายของการออม
การออม(Saving)
ส่วนแตกต่างของรายได้ที่เหลือจากการใช้จ่ายเพื่อการบริโภค
การพิจารณาเลือกวิธีการใช้จ่ายเงินที่มีอยู่เพื่อไม่ให้บริโภคหมดในครั้งเดียว
เงินรายได้ของบุคคลส่วนที่มิได้นำไปใช่จ่ายเพื่อการบริโภคและอาจนำไปลงทุน เพื่อให้เกิดประโยชน์ แก่เจ้าของและระบบเศรษฐกิจ
รายรับ – รายจ่าย / Incomes – Expenses
การเก็บเงินไว้เฉยๆ ( Hoarding ) การเก็บเงินไว้โดยไม่นำมาใช้หมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ ( Saving ) = เกิดประโยชน์เป็นผลตอบแทน / ดอกเบี้ย
วัตถุประสงค์ของการออม
สร้างหลักประกันชีวิตและความมั่นคงทางด้านการเงิน
เพื่อให้มีเงินไว้ใช้ในวัยชรา
เพื่อไว้ใช้ทางด้านการศึกษาและความก้าวหน้าในการงาน
เพื่อไว้เป็นมรดก ให้ลูกหลานและสังคม
เป็นเงินทุนในการประกอบอาชีพ
ไว้ใช้จ่ายนอกเหนือจากรายจ่ายประจำ
หลักการออม
1. กำหนดเป้าหมายหรือ วัตถุประสงค์ในการออม
2. ตระหนักถึงภาระและหน้าที่ ในการประหยัดเพื่อเก็บออม
3. วางแผนการใช้จ่ายเงินตามความสำคัญของการใช้จ่าย
4. ควบคุมการใช้จ่ายให้เป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้อย่างสม่ำเสมอ
5.ใช้วิธีการออมแบบบังคับโดยสร้างภาระการออมด้วยความสมัครใจ
6. หาทางเพิ่มรายได้ให้สูงขึ้นจากเงินออม
7.จัดทำงบประมาณการเงินหรือแผนการใช้จ่ายเงิน
วิธีการเพิ่มพูนรายได้จากเงินออม และผลประโยชน์ที่ได้รับ
-ฝากธนาคาร / ดอกเบี้ย
-ซื้อหุ้น / กำไรจากการขาย
-ซื้อที่ดิน / กำไรจากการขาย
ผลกระทบต่อเงินออมในการแสวงหาผลประโยชน์
-ช่วยให้ภาระการออมเงินปีต่อๆไปลดลง
-การออมเท่าๆกันอย่างต่อเนื่องจะทำให้เกิดรายได้และมีเงินออมมากกว่าเป้าหมาย
-การทำให้เงินงอกเงยขึ้นและมีเงินใช้ต่อเดือนสูงขึ้น
-การมีเงินใช้ได้นานและมีเงินออมไว้เป็นมรดก
( ต้องมีการจำกัดการใช้เงิน / ไม่ใช้เงินที่ได้มามากขึ้น )
ปัจจัยที่มีผลต่อการออม
1. รายได้
2. อุปนิสัยส่วนบุคคล
3. โอกาสการลงทุนและเครื่องมือลงทุน
4. การบริการของสถาบันการเงิน
5. ค่าใช้จ่ายของบุคคลที่มากหรือน้อย
6. สิทธิทางด้านภาษี
7. อัตราดอกเบี้ย
8. เวลาในการออม
9. ภาวะเงินเฟ้อ
ประโยชน์ของการออม
ประโยชน์ต่อผู้ออม
n มีเงินไว้ใช้จ่ายยามชราหรือช่วงที่ไม่สามารถประกอบอาชีพได้
n เป็นการเตรียมพร้อมเพื่อกันเงินไว้ใช้จ่ายยามฉุกเฉิน
n ช่วยสร้างความมั่นคงในการดำรงชีวิตแก่ตนเองและครอบครัว
n ช่วยเพิ่มอำนาจซื้อสินค้าและบริการที่มีคุณภาพดี
n ช่วยให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการออมตามเป้าหมาย
n เป็นการส่งเสริมการลงทุนและการแสวงหาผลประโยชน์ที่เพิ่มขึ้นจากการออม
ประโยชน์ของการออมประโยชน์ต่อสังคมและเศรษฐกิจ
n ทำให้เกิดการสะสมเงินทุนหรือเกิดการลงทุนเพิ่มขึ้นในระบบเศรษฐกิจ
n ทำให้เกิดการจ้างงานเพิ่มขึ้นมีผลต่อรายได้และความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของประชากร
n เกิดความก้าวหน้าทางด้านการผลิต การบริการของธุรกิจการค้าภายในและต่างประเทศ
n เกิดเสถียรภาพแก่ระบบเศรษฐกิจเมื่อมีการลงทุนจากการออม
n เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศจากการดึงเงินออมมาเพิ่มการหมุนเวียนของการลงทุนในตราสารการเงิน
สถาบันการเงินเพื่อการออม
ธนาคารออมสิน เป็นธนาคารของรัฐ และเป็นสถาบันการออมทรัพย์สินต่างๆของบุคคล ในรูปของการฝากเงิน ประเภทต่างๆ
สถาบันการเงินเพื่อการออม
ธนาคารพาณิชย์ สถาบันการเงินที่ส่งเสริมและให้บริการออมเงินด้วยการรับฝากเงินประเภทต่างๆ
ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ส่งเสริมการออมเพื่อการสร้างที่อยู่อาศัยด้วยการรับฝาก เงินและการกู้ยืมเงิน
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
สถาบันการเงินของรัฐที่สร้างเงินฝากและการกู้ยืมโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้าง ความเป็นอยู่ที่ดี การมีที่ดินเป็นของตน
และการมีทุนประกอบอาชีพ
สถาบันการเงินเพื่อการออม
สหกรณ์ออมทรัพย์ - สถาบันการเงินที่ตั้งขึ้นจากการรวมตัวกันของสมาชิกในหน่วยงานต่างๆเพื่อรับฝากเงินออมและให้กู้ยืมแก่สมาชิก
บริษัทการเงิน - สถาบันการเงินที่มีการระดมเงินออมไปให้กู้ยืมเพื่อการลงทุนตามวัตถุประสงค์และให้อัตราผลตอบแทนเงินออมสูง
บริษัทประกันชีวิต - สถาบันการเงินที่ช่วยให้ผู้ออมที่ทำประกันได้รับความคุ้มครองหรือรับเงินจ่ายคืนเมื่อครบกำหนดตามสัญญา
กองทุนรวม - เป็นการลงทุนจากผู้ออมตามสัดส่วนของเงินโดยผู้ลงทุนจะได้รับ “หน่วยลงทุน”และได้รับเฉลี่ยดอกผลจากการลงทุน
สถาบันการเงินนอกระบบ - เป็นสถาบันการออมแบบไม่เป็นทางการโดย การรวมตัวของสมาชิกที่ตกลงจัดตั้งกองทุนที่เรียกว่า“การเล่นแชร์”มีหัวหน้ากลุ่มรวบรวมเงินออม และจัดการดอกเบี้ยเงินออมจากการประมูลเงินแชร์แก่ สมาชิก
ปัจจัยในการเลือกสถาบันการเงินเพื่อการออม
-เป็นสถาบันการที่มีความมั่นคงและปลอดภัย
-ให้ผลตอบแทนมากและแน่นอน
-เป็นสถาบันการเงินที่มีสภาพคล่องสูง
( การหมุนเวียนของเงินที่จะนำมาจ่ายคืนเงินออมรวดเร็ว )
-เกิดภาระภาษีจากผลตอบแทนของเงินออมไม่สูงเกินไป
หน่วยที่4 การลงทุน
1. ความหมายของการลงทุน
2. รูปแบบของการลงทุน
3. ประเภทของการลงทุน
4. หลักการพิจารณาการลงทุน
5. การศึกษาข้อมูลในการลงทุน
6. การวางแผนการลงทุน
7. ประโยชน์ที่ได้รับจากการลงทุน
หน่วยที่4 การลงทุน
( Investment )
-การนำเงินออมมาแปรสภาพเป็นเงินลงทุนเพื่อให้เกิดผลตอบแทนตามความคาดหวัง
-การใช้เงินออมหรือการนำเงินที่ได้จากการกู้ยืมหรือการนำหลักทรัพย์ที่ซื้อไว้ออกไปแสวงหาผลประโยชน์เพื่อให้เกิดกำไรในอนาคต
-การที่ผู้บริโภคนำเงินออมที่มีอยู่หรือเงินที่ได้จากการกู้ยืมมาดำเนินกิจกรรมด้านธุรกิจเพื่อให้เกิดเป็นสินค้าและบริการสนองความต้องการของผู้บริโภค
รูปแบบของการลงทุน
การลงทุนที่ทำให้เกิดรายได้ประจำ
-การฝากเงินกับธนาคาร ( ดอกเบี้ย )
-การฝากเงินกับสถาบันการเงิน (ดอกเบี้ย)
-การซื้อพันธบัตร ( ดอกเบี้ย )
-การซื้อสลากออมสิน ( ถูกรางวัล )
-การซื้อกรมธรรม์ประกันชีวิต (เงินปันผล)
-การซื้อหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ (เงินปันผล)
-การซื้อหน่วยลงทุนจากกองทุนรวม ( เงินปันผล )
การลงทุนที่ทำให้เกิดรายได้ผันแปร
-การซื้อหุ้นสามัญ ( เงินปันผลตามผลกำไร )
-การซื้ออสังหาริมทรัพย์อาคารชุด บ้าน ที่ดิน ( กำไรจากการขายต่อ )
-การซื้อโภคภัณฑ์ล่วงหน้า ( การเก็งกำไร )

ประเภทของการลงทุน
การลงทุนทางด้านผู้บริโภค
-การลงทุนซื้อสินค้าและอสังหาริมทรัพย์ (มุ่งหวังกำไรและความพอใจในการใช้)
-การลงทุนทางธุรกิจ (มุ่งหวังผลกำไรในการดำเนินงาน)
-การลงทุนในหลักทรัพย์ (มุ่งหวังผลตอบแทนเป็นดอกเบี้ยหรือเงินปันผล)
ประเภทของการลงทุน
- การลงทุนทางตรง (direct Investment) เจ้าของทุนใช้เงินของตนเองและรับผิดชอบดำเนินการด้วยตนเอง
- การลงทุนทางอ้อม (Indirect Investment)เจ้าของทุนเข้าไปมีส่วนร่วมในการประกอบธุรกิจหรือร่วมลงทุน กับธุรกิจอื่นเป็นการลงทุนทางการเงิน
หลักการพิจารณาการลงทุน
-ความปลอดภัยของการลงทุน
-ผลตอบแทนที่ได้รับเหมาะสมคุ้มค่า
-ความเสี่ยงหรือโอกาสเกิดความสูญเปล่าของการลงทุน
-สภาพคล่องหรือความสามารถเปลี่ยนเงินลงทุนเป็นเงินสดได้เร็ว
การศึกษาข้อมูลในการลงทุนบุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ผู้เป็นเจ้าของเครื่องมือลงทุน ( รัฐบาล รัฐวิสาหกิจ บริษัทจำกัด )
-ข้อมูลเกี่ยวกับความมั่นคงและฐานะการเงิน
ผู้ให้บริการทางการเงิน (นายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ ตัวแทนหน่วยลงทุน)
-เป็นตัวกลางของการซื้อขายเครื่องมือลงทุน
ตลาดซื้อขายเครื่องมือลงทุน (ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ศูนย์ซื้อขายตราสารหนี้ไทย)
-เป็นศูนย์กลางการซื้อขายเครื่องมือลงทุน
ผู้กำกับดูแล (ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงาน ก.ล.ต)
-เป็นองค์การที่ดูแลให้การลงทุนดำเนินการอย่างราบรื่นและเป็นธรรม
การศึกษาข้อมูลลงทุน
แหล่งข้อมูลในการลงทุน
ธนาคารแห่งประเทศไทย – หน่วยงานควบคุมสถาบันการเงินเพื่อการลงทุน
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (สำนักงาน ก.ล.ต)
- พัฒนา กำกับดูแลการดำเนินธุรกิจจัดการลงทุน
- เป็นศูนย์รวบรวมข้อมูลสำคัญของธุรกิจจัดการลงทุน
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
- ส่งเสริมการระดมเงินออมและการระดมเงินทุนภายในประเทศ
- เสริมสร้างสภาพคล่องและเสถียรภาพการซื้อขายหลักทรัพย์
- เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์
สถาบันที่ให้คำแนะนำปรึกษาการลงทุน
- ธนาคารพาณิชย์ บริษัทหลักทรัพย์
แหล่งข้อมูลภายในของบริษัท
- งบการเงิน รายงานประจำปี
แหล่งข้อมูลจากบุคคลที่เกี่ยวข้อง
- เพื่อน ญาติ นักลงทุน
การวางแผนลงทุน
การลงทุนด้วยตนเอง
1.กำหนดวัตถุประสงค์ในการลงทุน
-ผลตอบแทนที่ต้องการ
-ระยะเวลาในการลงทุน
-ระดับความเสี่ยง
2.เลือกรูปแบบของการลงทุน
การลงทุนรายใหญ่ - ตราสารหนี้
การลงทุนรายย่อย
- เงินฝาก
-พันธบัตร
-ตั๋วสัญญาใช้เงิน
-หุ้น
-การทำประกันหุ้น
การวางแผนลงทุน-การลงทุนด้วยตนเอง
3.กระจายความเสี่ยงไปยังการลงทุนที่หลากหลาย
4.หาช่องทางแก้ปัญหาหากไม่ได้รับความเป็นธรรมใน การลงทุน
5.เลือกนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ หรือตัวแทนหน่วยลงทุน
6.แสวงหาข้อมูลเพื่อตัดสินใจลงทุนจากบุคคลที่ เกี่ยวข้อง และแหล่งข้อมูลต่างๆ
การวางแผนลงทุน
การลงทุนผ่านผู้บริหารเงิน
- การลงทุนผ่านกองทุนรวม
*เหมาะแก่ผู้ลงทุนมือใหม่ซึ่งไม่มีเวลาศึกษาข้อมูล ดูแล ติดตามการลงทุน
- พิจารณาผลตอบแทนและความเสี่ยง
- เลือกรูปแบบการลงทุน
การลงทุนรายใหญ่ - กองทุนรวมเฉพาะด้าน
การลงทุนรายย่อย - กองทุนรวม
- เลือกผู้บริหารเงิน
การมีใบอนุญาต + การคิดค่าธรรมเนียม
- ศึกษาสิทธิและหน้าที่ของผู้ลงทุน
สิทธิ การเรียกร้องสิทธิจากปัญหาที่เกิดจากการลงทุน
หน้าที่ ศึกษาข้อมูลรายละเอียดจากแหล่งข้อมูลในการลงทุนประเภทต่างๆ
ประโยชน์ที่ได้จากการลงทุน
ผลประโยชน์ที่ผู้ลงทุนได้รับ
-เกิดผลตอบแทนผลกำไรจากการลงทุน
-เกิดความมั่นคงทางการเงิน
-เกิดการออมเพิ่มขึ้น
ประโยชน์ที่ได้รับจากการลงทุน
ผลประโยชน์ที่มีต่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
1 เกิดผลกำไรจากการดำเนินงานทางธุรกิจ
2 ประชากรมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น
3 เกิดการพัฒนาปัจจัยพื้นฐานในการลงทุน
4 เกิดความก้าวหน้า พัฒนาประเทศด้านต่างๆ (การคมนาคม การสื่อสาร การศึกษา)
5 รายได้ประชาชาติ / ผลผลิตสุทธิของ ประเทศเพิ่มขึ้น
**************************************************